ยินดีต้อนรับ

ยินดีที่แวะมาเยี่ยม web blog ทักษะการจัดการความรู้ (KM) ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียนศตวรรษที่ 21 วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ขอบคุณคุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา และเพื่อนๆ ที่แนะนำให้คำปรึกษา

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่2 วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์

คือกระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย

การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

  1. การรวบรวมหลักฐาน
  2. การคัดเลือกหลักฐาน
  3. การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
  4. การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
  5. การนำเสนอข้อเท็จจริง
นอกจากนี้ รอบิน จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Idea of History ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้

วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน
การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป

วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม


วิธีการทางประวัติศาสตร์

1. วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง วิธีการที่ผู้ต้องการสืบค้น เรื่องราวในอดีต ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และเรียบเรียงเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์
2. วิธีการทางประวัติศาสตร์มีความ สำาคัญ คือ สามารถใช้ในการสืบค้นเรื่อง ราวต่าง ๆ ที่สนใจได้ เช่น การหาความ รู้เกี่ยวกับ โรงเรียน วัด ชุมชน จังหวัด หรือภูมิภาคของตน ซึ่งเป็นเรื่องราว ใกล้ ตัวและเราสามารถหาหลักฐาน ได้จาก แหล่งข้อมูลที่มี อยู่ในพื้นที่ เช่น วัด พิพิธภัณฑ์ สถานที่สำาคัญในท้องถิ่น เป็นต้น
3. การใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ถ้านักเรียนสนใจอยากทราบว่า จังหวัดของเรามีประวัติความเป็นมา อย่างไร มีเรื่องราวใด ที่น่าสนใจน่ารู้บ้าง นักเรียนสามารถใช้วิธีการทาง ประวัติศาสตร์ศึกษาค้นคว้าได้ตามขั้นตอน
4. กำาหนดเรื่องที่จะศึกษา เป็นขั้นตอนแรกของวิธีการ ศึกษาหาความรู้ โดยตั้งประเด็นคำาถาม เกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาที่แน่นอน ต้อง ถามตัวเองในประเด็นที่ต้องการรู้ ได้แก่ ใคร ทำาอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำาไม อย่างไร และต้องเป็นคำาถามที่ตอบได้และ นำาไปสู่การค้นคว้าความรู้ที่ลึกซึ้ง หรือ
5. ตัวอย่าง ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคอาจ เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และขยายขอบเขต การ ศึกษาออกไปเป็นระดับอำาเภอ ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค เช่น ประวัติวัดสำาคัญในชุมชน / อำาเภอ / จังหวัด / ภูมิภาค สถานที่สำาคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค
6. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เมื่อมีประเด็นที่จะศึกษาแล้ว ขั้นต่อมาคือ การค้นคว้าและรวบรวมหลักฐานข้อมูลทุก ประเภทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา ทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐาน ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหลักฐาน ชั้นต้นจะมีความสำาคัญและน่าเชื่อถือกว่าหลัก ฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองจะช่วย อธิบายเรื่องราวให้เข้าใจง่ายกว่าหลักฐานชั้น ต้น โบราณสถานสบ โบราณสถาน โบราณวัตถุ
7. หลักฐานชั้นต้น ลักษณะ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่เป็นของ ร่วมสมัยหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ตัวอย่างได้แก่ ข้อมูลจากการสอบถามผู้ที่ อยู่ในเหตุการณ์ บันทึกของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ภาพถ่าย วีดิโอเทป สิ่งของเครื่องใช้ สิ่ง ก่อสร้าง เป็นต้น
8. หลักฐานชั้นรอง ลักษณะ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่เขียน หรือรวบรวมไว้ภายหลังเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น ตัวอย่างได้แก่ บทความทางวิชาการ หนังสือต่าง ๆ
9. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ลักษณะ เป็นหลักฐานข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ ตัวอย่างได้แก่ จารึก พงศาวดาร จดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ จดหมาย บันทึก เอกสารทางราชการ เป็นต้น
10. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ลักษณะ เป็นหลักฐานข้อมูลที่ไม่เป็นตัวหนังสือ ตัวอย่างได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ของคนใน สมัยต่าง ๆ วัด เจดีย์ อนุสาวรีย์ เครื่องประดับ อาคารบ้านเรือนเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น พระพุทธรูปหินทรายที่จัด เก็บในพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว เครื่องถ้วยชาม ภายในหอ วัฒนธรรมนิทัศน์พะเยา
11. ตรวจสอบหลักฐาน ขั้นตอนนี้คือ การตรวจสอบข้อมูลหลักฐาน ที่เรารวบรวมมาว่ามีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ มากน้อยเพียงใด วิธีการตรวจสอบหลักฐาน ได้แก่ เปรียบ เทียบจากข้อมูลหลาย ๆ ฉบับว่าเหมือนหรือ ต่างกันอย่างไร พิจารณาจากหลักฐานที่มีอยู่ หรือว่าหลักฐานดังกล่าวผ่านการตรวจสอบ ความถูกต้อง จากผู้เชี่ยวชาญมาแล้ว เรียกวิธี การนี้ว่า การวิพากษ์หลักฐาน
12. การวิพากษ์หลักฐาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ การวิพากษ์ภายนอก คือตรวจสอบและ พิจารณาคุณค่าหลักฐานว่าเป็นของจริงหรือ ปลอม ชำารุดหรือไม่ อายุของหลักฐาน คัด ลอกมาถูกหรือไม่ ผู้สร้างหลักฐานมีความเป็น มาอย่างไร การวิพากษ์ภายใน คือการตรวจสอบความ ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลว่ามีคุณค่า ทางประวัติศาสตร์เพียงใด สอดคล้องกับข้อมูล ในหลักฐานอื่นหรือไม่
13. การตีความหลักฐาน เมื่อรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือแล้ว พิจารณาศึกษาความหมาย ในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาแอบแฝง หรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะต้องเข้าใจความหมาย ทัศนคติ ความเชื่อ สภาพแวดล้อม ของผู้เขียน และสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย ซึ่งต้อง อาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา และที่สำาคัญ ต้องมีใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ เพื่อให้ได้ข้อเท็จ จริงทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับความเป็น จริงมากที่สุด
14. การนำาเสนอข้อมูล เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทาง ประวัติศาสตร์ โดยผู้ศึกษาต้องนำข้อมูลที่ผ่าน การตรวจสอบ และเลือกสรรแล้ว มาเรียบเรียง เพื่อตอบคำาถามหรืออธิบายข้อสงสัยตามประเด็น ที่ต้องการศึกษาโดยใช้หลักฐานข้อมูลต่างๆ มา อ้างอิงอย่างเป็นเหตุเป็นผล การนำาเสนอสู่สาธารณะผ่านการเขียนบทความ การประชุม สัมมนา อภิปราย รายงาน บรรยาย ซึ่งการนำาเสนอข้อมูลเช่นนี้นำาไปสู้การสร้างแนว ความคิดใหม่ หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทาง ประวัติศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น